กองกฎหมาย
Legal Affairs Division
 

อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ

กองกฎหมาย

มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายอื่น
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับนโยบายจัดเก็บอากรและระบบการค้าสากล และการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งประเมินผลสัมฤทธิ์
ของกฎหมายบรรดาที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกรม

2) ดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาการอุทธรณ์คดี การเสนอเบิกจ่ายเงินสินบนรางวัล การกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางดำเนินคดีศุลกากร และการเปรียบเทียบคดี

3) ดำเนินการเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา งานที่เกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา
งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดภายในกรมโดยเฉพาะ

4) สนับสนุนและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการศุลกากร

5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

แบ่งงานออกเป็น ดังนี้

1. ส่วนกฎหมายและระเบียบ มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศุลกากร

2) ศึกษา และเสนอความเห็นเกี่ยวกับข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับศุลกากร

3) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

4) ดำเนินการร่าง แก้ไข และเพิ่มเติมระเบียบกรมศุลกากร ประกาศกรมศุลกากร คำวินิจฉัยพิธีการ และประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร

5) พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา

6) สนับสนุนและให้คำปรึกษาข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับศุลกากร

1.1 ฝ่ายกฎหมายและระเบียบที่ 1 มีหน้าที่ ดังนี้

1) วินิจฉัยและให้คำปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติทางศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2) พิจารณาร่างกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งต่าง ๆ ที่หน่วยงานภายนอกส่งให้กรมศุลกากรพิจารณา

3) ให้ความเห็น และคำชี้แจงเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับศุลกากรต่อคณะกรรมาธิการรัฐสภา คณะกรรมการกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่น

4) พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญาของกรมศุลกากร

5) ประชุมชี้แจงต่อหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบของศุลกากร

1.2 ฝ่ายกฎหมายและระเบียบที่ 2 มีหน้าที่ ดังนี้

1) พิจารณาร่างกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งต่าง ๆ ที่หน่วยงานภายนอกส่งให้กรมศุลกากรพิจารณา

2) แก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

3) ยกร่างกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

4) ร่างแก้ไขเพิ่มเติม คำสั่งกรมศุลกากร ประกาศกรมศุลกากร

5) ร่างแก้ไขปรับปรุงคำวินิจฉัยพิธีการศุลกากร และประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร

1.3 ฝ่ายกฎหมายและระเบียบที่ 3 มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับฝ่ายกฎหมายและระเบียบที่ 2

2. ส่วนกฎหมายต่างประเทศ มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการด้านกฎหมายเกี่ยวกับพันธกรณีหรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากร

2) ศึกษา และเสนอความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากร หรือเกี่ยวข้องกับการศุลกากร

3) ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมเจรจาระหว่างประเทศในทางศุลกากร หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการศุลกากร ตลอดจนงานประชุมคณะกรรมการหรืออนุกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพันธกรณีหรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากร

4) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีหรือความตกลงระหว่างประเทศ

5) ดำเนินการร่าง แก้ไข และเพิ่มเติมระเบียบกรมศุลกากร ประกาศกรมศุลกากร คำวินิจฉัยพิธีการและประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณี หรือความตกลงระหว่างประเทศ

6) พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีหรือความตกลงระหว่างประเทศ

7) สนับสนุน และให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับอนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากร หรือเกี่ยวข้องกับการศุลกากร

2.1 ฝ่ายกฎหมายต่างประเทศที่ 1 มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการด้านกฎหมายเกี่ยวกับพันธกรณี หรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากรในกรอบทวิภาคี

2) ศึกษาและเสนอความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับอนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากร หรือเกี่ยวข้องกับการศุลกากรในกรอบทวิภาคี

3) ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมเจรจาระหว่างประเทศในทางศุลกากรหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการศุลกากรในระดับทวิภาคี ตลอดจนงานประชุมคณะกรรมการหรืออนุกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพันธกรณี หรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากรในกรอบทวิภาคี

4) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีหรือความตกลงระหว่างประเทศในกรอบทวิภาคี

5) ดำเนินการร่าง แก้ไขและเพิ่มเติมระเบียบกรมศุลกากร ประกาศกรมศุลกากร คำวินิจฉัยพิธีการ และประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณี หรือความตกลงระหว่างประเทศในกรอบทวิภาคี

6) พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีหรือความตกลงระหว่างประเทศในกรอบทวิภาคี

7) สนับสนุน และให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับอนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากร หรือเกี่ยวข้องกับการศุลกากรในกรอบทวิภาคี


2.2 ฝ่ายกฎหมายต่างประเทศที่ 2 มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการด้านกฎหมายเกี่ยวกับพันธกรณี หรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากรในกรอบพหุภาคี

2) ศึกษา และเสนอความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับอนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากร หรือเกี่ยวข้องกับการศุลกากรในกรอบพหุภาคี

3) ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมเจรจาระหว่างประเทศในทางศุลกากรหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการศุลกากรในระดับพหุภาคี ตลอดจนงานประชุมคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพันธกรณี หรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากรในกรอบพหุภาคี

4) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีหรือความตกลงระหว่างประเทศในกรอบพหุภาคี

5) ดำเนินการร่าง แก้ไข และเพิ่มเติมระเบียบกรมศุลกากร ประกาศกรมศุลกากร คำวินิจฉัยพิธีการ และประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณี หรือความตกลงระหว่างประเทศในกรอบพหุภาคี

6) พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีหรือความตกลงระหว่างประเทศในกรอบพหุภาคี

7) สนับสนุน และให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับอนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศในทางศุลกากร หรือเกี่ยวข้องกับการศุลกากรในกรอบพหุภาคี

3. ส่วนคดี มีหน้าที่ ดังนี้

1) พิจารณาดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร

2) ให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือเกี่ยวกับการดำเนินคดีศุลกากรทางอาญาแก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายในกรมศุลกากร

3) พิจารณาเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่น
ที่เกี่ยวข้อง

3.1 ฝ่ายคดีลักลอบ มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร ความผิดฐานซื้อหรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อกำกัด และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง

2) ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมาย
ว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

3) พิจารณาเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

4) ให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

5) ตรวจสอบรายงานการสั่งคดีไปก่อน




3.2 ฝ่ายคดีหลีกเลี่ยง มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับความผิดฐานสำแดงเท็จ ความผิดฐานสำแดงเท็จหลีกเลี่ยงอากร ความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากร ความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้าม ข้อกำกัด และความผิดฐานปฏิบัติพิธีการศุลกากรไม่ถูกต้อง และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง

2) ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

3) พิจารณาเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

4) ให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือเกี่ยวกับการดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

5) ตรวจสอบรายงานการสั่งคดีไปก่อน

4. ส่วนคดีแพ่งและคดีปกครอง มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการคดีอากร คดีแพ่งและคดีปกครอง ตลอดจนการดำเนินคดีทางอาญา

2) ดำเนินการติดตามเร่งรัดหนี้ค่าอากร ค่าเสียหายต่าง ๆ จากผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออก ตลอดจนบุคคลอื่นใดที่กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมศุลกากร

3) ดำเนินการตรวจสอบพยานหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมด ตลอดจนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีเพื่อส่งเรื่องที่ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมายพนักงานอัยการเป็นทนายดำเนินคดีอากร คดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญา

4) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินคดีอากร คดีแพ่ง คดีปกครองและคดีอาญาแก่หน่วยงานต่าง ๆ

4.1 ฝ่ายคดีแพ่ง มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินคดีอากร คดีแพ่ง ตลอดจนการดำเนินคดีทางอาญา

2) ดำเนินการติดตามเร่งรัดหนี้ ค่าอากร ค่าเสียหายต่าง ๆ จากผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออก ตลอดจนบุคคลอื่นใดที่กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

3) ดำเนินการตรวจสอบพยานหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมด ตลอดจนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีเพื่อส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมายพนักงานอัยการเป็นทนายดำเนินคดีอากร คดีแพ่ง และคดีอาญา

4) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินคดีอากร คดีแพ่ง และคดีอาญาแก่หน่วยงานต่าง ๆ

4.2 ฝ่ายคดีปกครอง มีหน้าที่ ดังนี้

1)  ดำเนินคดีปกครอง และการใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลซึ่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายตามกฎหมาย

2) ดำเนินการตรวจสอบพยานหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีปกครองทั้งหมด ตลอดจนข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ เพื่อส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมายพนักงานอัยการเป็นทนายดำเนินคดีทางปกครอง

3) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินคดีปกครอง และการใช้มาตรการบังคับทางปกครองแก่หน่วยงานต่าง ๆ

5. ส่วนคดีอุทธรณ์และเปรียบเทียบ มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาการอุทธรณ์คดี กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางดำเนินคดีศุลกากร และการเปรียบเทียบคดี

2) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการด้านการประชุมคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง

3) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการด้านการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะที่ 3 (ด้านอื่น ๆ ที่มิใช่เรื่องพิกัดอัตราศุลกากรและราคาศุลกากร)

4) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการด้านการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบน รางวัล และค่าภาระติดพัน

5) พิจารณาการเบิกจ่ายเงินสินบนรางวัล

6) ตรวจสอบรายงานการสั่งคดีไปก่อน

7) รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ตลอดจนวิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา และคำวินิจฉัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินคดี

5.1 ฝ่ายคดีอุทธรณ์ มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการตรวจสอบและสรุปข้อเท็จจริง และ/หรือข้อกฎหมายในประเด็นข้ออุทธรณ์โต้แย้งของผู้ถูกกล่าวหา

2) กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินคดีศุลกากร และการเปรียบเทียบคดี

3) ตรวจสอบรายงานการสั่งคดีไปก่อน

4) รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ตลอดจนวิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาและคำวินิจฉัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินคดี

5.2 ฝ่ายคณะกรรมการเปรียบเทียบ มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการตรวจสอบและสรุปข้อเท็จจริงในทางคดีศุลกากรของแต่ละแฟ้มคดี ย่อเรื่อง และจัดเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบฯ

2) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการด้านการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบฯ

3) แจ้งมติคณะกรรมการเปรียบเทียบฯ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคดีดำเนินการและปฏิบัติตามมติดังกล่าวในแต่ละคดี

4) พิจารณาการเบิกจ่ายเงินสินบนรางวัล

5) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการด้านการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบน รางวัล และค่าภาระติดพัน

6) เสนอผลการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินสินบน รางวัล และค่าภาระติดพันให้อธิบดีสั่งการ และแจ้งคำสั่งของอธิบดีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ

7) ปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์การเปรียบเทียบระงับคดีให้เหมาะสมกับสภาวการณ์

5.3 ฝ่ายคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและสรุปข้อเท็จจริงในปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์ด้านอื่น ๆ ที่มิใช่เรื่องพิกัดอัตราศุลกากรและราคาศุลกากร เพื่อนำเรื่องเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะที่ 3 (ด้านอื่น ๆ ที่มิใช่เรื่องพิกัดอัตราศุลกากรและราคาศุลกากร)

2) ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะที่ 3

3) แจ้งมติคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะที่ 3 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ

4) รวบรวมและจัดทำประมวลคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะที่ 3 รวมถึงเผยแพร่คำวินิจฉัยดังกล่าว



6. ส่วนบังคับคดี มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการติดตามบังคับคดีลูกหนี้หรือจำเลยตามคำพิพากษา หรือคำสั่งศาล ตลอดจนรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

2) ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้มาตรการบังคับทางปกครองและพิจารณาทุเลาการบังคับทางปกครอง กรณีมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 รวมทั้งการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งที่เป็นการใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับเจ้าหน้าที่

3) ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระอากร รวมทั้งการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งที่เป็นการใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับผู้ค้างชำระอากร

4) ตรวจสอบพยานหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมด ตลอดจนข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมายพนักงานอัยการดำเนินคดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ รวมถึงกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของคดีล้มละลายจนเสร็จการ

5) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินคดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนการใช้มาตการบังคับทางปกครองแก่หน่วยงานต่าง ๆ

6.1 ฝ่ายบังคับคดีที่ 1 มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการติดตามบังคับคดีลูกหนี้หรือจำเลยตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ตลอดจนรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อบังคับหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

2) ดำเนินการตรวจสอบพยานหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมด ตลอดจนข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมายพนักงานอัยการดำเนินคดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบถึงกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการจนเสร็จการ

3) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินคดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการแก่หน่วยงานต่าง ๆ

6.2 ฝ่ายบังคับคดีที่ 2 มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง และพิจารณาทุเลาการบังคับทางปกครอง กรณีมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 รวมทั้งการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งที่เป็นการใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับเจ้าหน้าที่

2) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้มาตรการบังคับทางปกครองแก่หน่วยงานต่าง ๆ

6.3 ฝ่ายบังคับคดีที่ 3 มีหน้าที่ ดังนี้

1) ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระอารก รวมทั้งการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งที่เป็นการใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับผู้ค้างชำระอากร

2) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับผู้ค้างชำระอากรแก่หน่วยงานต่าง ๆ


 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 10 มกราคม 2563 14:10:39
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กองกฎหมาย
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2667-6000

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของกองกฎหมาย - กรมศุลกากร
ลิขสิทธิ์ 2018 กองกฎหมาย สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนประมวลผลและคลังข้อมูล สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ